หน่วยที่5 การฝากขายสินค้า


หน่วยที่5
การฝากขายสินค้า
1 . ลักษณะทั่วไป
    การฝากขาย ( consignmentas ) หมายถึง การที่บุคคลคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าหรือมีสินค้าไว้เพื่อจำหน่าย เรียกว่า  ผู้ฝากขาย ( consignor ) นำสินค้าของตนเองส่งไปให้กับบุคคลอีกคนหนึ่งช่วยขายสินค้าแทนตนเอง เรียกว่า ผู้รับฝากขาย ( consingnee ) ซึ่งผู้รับฝากนี้จะได้รับค่านายหน้าเป็นสิ่งตอบแทน
2 . ข้อแตกต่างระหว่างการขายสินค้ากับการฝากขาย
การขาย
การฝากขาย
1.กรรมสิทธิ์ กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะเป็น
ของผู้ซื้อทันทีที่มีการขาย
1.กรรมสิทธิ์ กรรมสิทธิ์ในสินค้าเป็นของผู้ฝากขายจนกว่าผู้รับฝากขายจะขายสินค้าชิ้นนั้นได้
2. การจ่ายเงิน ผู้ซื้อจะชำระเงินทันทีที่มีการซื้อ – ขายเกิดขึ้น
2. การจ่ายเงิน  ผู้รับฝากขายจะส่งเงินพร้อม
รายงานการขาย สินค้าคงเหลือให้กับผู้ฝากตามระยะเวลาที่ตกลงกัน
3. สินค้าคงเหลือ สินค้าที่ยังขายไม่ได้จะถือเป็นสินค้าคงเหลือทันที
3. สินค้าคงเหลือ สินค้าที่ยังขายไม่ได้ด้านผู้รับฝากจะไม่ถือเป็นสินค้าคงเหลือ ด้านผู้ฝากถือเป็นสินค้าคงเหลือต่อเมื่อได้รับรายงานการขายแล้วเท่านั้น

3 . ประโยชน์ของการฝากขายที่มีต่อผู้ฝากขายกับผู้รับฝากขาย
ผู้ฝากขาย
ผู้รับฝากขาย
1 . ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับการขายเชื่อ และการเก็บเงินจากลูกค้าหนี้ไม่ได้  เพราะกรรมสิทธิ์ในสินค้ายังเป็นผู้รับฝากขายอยู่และในการตามหนี้ ผู้รับฝากอาจเป็นคนเรียกเก็บให้
1 . ลดความเสี่ยงด้านการขาดทุน เนื่องจากราคาของสินค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
2 . เป็นการเพิ่มช่องทางในการขายสินค้าให้ขยายมากขึ้น สำหรับสินค้าใหม่หรือสินค้าที่มีต้นทุนสูง
2 . ในกรณีมีสินค้าใหม่ขาย ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุน เนื่องจากเป็นผู้รับฝากขายเท่านั้นและจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่านายหน้า

4. สัญญาฝากขาย
    การส่งสินค้าไปฝากขายในทางกฎหมายจะไม่มีบทบัญญัติบังคับให้ต้องมีหนังสือสัญญาฝากขายเหมือนสัญญาเช่าซื้อ  แต่ในทางปฏิบัติผู้ฝากขายและผู้รับฝากขายควรทำเป็นหนังสือสัญญาลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและมีข้อตกลงเกี่ยวกับการฝากขายให้กับผู้รับฝากขายอย่างชัดเจนซึ่งในหนังสือข้อตกลงเกี่ยวกับการฝากขายควรมีข้อความที่สำคัญ ดังนี้
     1.         ราคาขายของสินค้าที่ฝากขาย
     2.         ระยะเวลาในการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อให้กับผู้ซื่อ
     3.         การส่งเงินค่าสินค้าที่ฝากขาย
     4.         รายละเอียดในรายงานการฝากขายที่ผู้รับฝากขายต้องทำให้ผู้ฝากขาย
     5.         ค่าใช้จ่ายของผู้รับฝากขายที่ผู้ฝากขายจะชดเชยให้
     6.         ค่าตอบแทน ค่านายหน้า หรืออัตรากำไรที่ผู้ฝากขายยินดีจะจ่ายให้ผู้รับฝากขายรายงาน

5. การฝากขาย ( consignment account sales )
      รายงานการฝากขาย  คือ รายละเอียดที่ผู้รับฝากขายจัดทำขึ้น  เพื่อส่งให้กับผู้ฝากขายตามเวลาที่ตกลงกัน  รายละเอียดในรายงานการฝากขายควรมีสาระสำคัญดังนี้
1.         ชื่อ ที่ อยู่ ของผู้รับฝากขาย
2.         วันที่ที่จัดทำรายงานการฝากขาย
3.         ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ฝากขาย
           4. ประเภทของสินค้าที่รับฝากขาย

           5. ปริมาณของสินค้าที่รับฝากขาย
           6. จำนวนสินค้าที่รับฝากขาย
           7. วิธีการส่งเงินที่ผู้รับฝากขาย ขายได้
           8. จำนวนสินค้าที่รับฝากขายคงเหลือ
ตัวอย่าง   รายงานการฝากขายของร้าน  ก. พานิช ซึ่งเป็นผู้รับฝากขาย และร้านโชคดีการค้าเป็นผู้รับฝาก

                                                    รายงานการขาย                                      เลขที่001
                                                     ร้าน ก. พานิช
                             1 ถ. จรัญสนิทวงศ์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ
                                                                                                วันที่ 31 มกราคม 2555
ร้านโชคดีการค้า
123 ถ.เพชรเกษม 48 เขตหนองแขม กรุงเทพฯ
สินค้าที่รับฝากขาย พัดลม 18 นิ้ว
รายการ
จำนวนหน่วย
จำนวนเงิน
รับสินค้าฝากขาย
10


ขายสินค้า หน่วยละ 600
10
6,000
-
หัก  ค่าใช้จ่าย :



       ค่าขนส่งเข้า                                                 200



       ค่าโฆษณา                                                   200



       ค่าบรรจุสินค้า                                          1,000



       ค่านายหน้า 20%                                       1,200

2,600
-
       จำนวนเงินที่ส่งพร้อมรายงานนี้

3,400
-
       สินค้าฝากขายคงเหลือ
ไม่มี




6. การบันทึกบัญชีฝากขาย
           การบันทึกบัญชีฝากขายจะมีการบันทึกต่างจากการขายโดยปกติ  เพราะกรรมสิทธิ์ในสินค้ายังเป็นของผู้ฝากขายอยู่  ดังนั้น  ผู้ฝากขายจึงไม่ถือว่าผู้รับฝากขายเป็นลูกหนี้ส่วนผู้รับฝากขายก็จะไม่ถือว่าผู้ฝากเป็นเจ้าหนี้  และถ้ามีสินค้าคงเหลือนั้นเป็นทรัพย์สินของตน และต้องแสดงเป็นสินทรัพย์ในงบดุลตอนสิ้นงวดบัญชีด้วย ซึ่งมีหลักการบันทึกบัญชีในแต่ละกรณี  ดังนี้
ด้านผู้รับฝากขาย
1.         จ่ายค่าใช้จ่าย            เดบิต  รับฝากขาย           จำนวนเงินใช้ค่าใช้จ่ายจริง
                                           เดบิต  เงินสด      จำนวนเงินใช้ค่าใช้จ่ายจริง
2.         ขายสินค้า                 เดบิต  เงินสด/ลูกหนี้         จำนวนเงินใช้ราคาขาย
                                           เครดิต  รับฝากขาย   จำนวนเงินใช้ราคาขาย
3.         คิดค่านายหน้า เดบิต  รับฝากขาย  จำนวนเงินใช้ค่านานหน้าที่คำนวณได้
                                                    เครดิต  รายได้ค่านายหน้า  จำนวนเงินใช้ค่า  นายหน้าที่คำนวณได้
4.         ส่งเงินคืนผู้ฝากขาย  เดบิต  รับฝากขาย  จำนวนเงินใช้ราคาขาย-ค่าใช้จ่าย-ค่านายหน้า
                                                         เครดิต  เงินสด   จำนวนเงินใช้ราคาขาย-ค่าใช้จ่าย-ค่านายหน้า

        ด้านผู้ฝากขาย
      1.         ส่งสินค้าไปฝากขาย  เดบิต  ฝากขาย  จำนวนเงินใช้ราคาทุน
                                  เครดิต  สินค้าฝากขาย  จำนวนเงินใช้ราคาทุน
      2.         จ่ายค่าใช้จ่าย  เดบิต  ฝากขาย  จำนวนใช้คาใช้จ่ายจริง
                                 เครดิต  เงินสด  จำนวนใช้คาใช้จ่ายจริง
      3.          รับเงินค่าฝากขาย  เดบิต  เงินสด  จำนวนเงินใช้ที่รับจริง
                                  ฝากขาย  จำนวนเงินใช้ค่าใช้จ่ายทั้งหมด+ค่านายหน้าของผู้รับฝากขาย
                                เดบิต  ฝากขาย                  จำนวนใช้ราคาขาย
       4.         กำไรหรือขาดทุนจากการฝากขาย
ถ้ากำไรจากการฝากขายจะ เดบิต กำไรจากการฝากขาย  จำนวนเงินใช้ราคาขาย-ค่าใช้จ่าย
ถ้าขาดทุนจากการฝากขายจะ เครดิต ขาดทุนจากการฝากขาย  จำนวนใช้ราคาขาย-ค่าใช้จ่าย

         ในการบันทึกบัญชีฝาก  เนื่องจากต้องมีการบันทึกทั้งด้านผู้รับฝากขายและผู้รับฝาก   ขายในที่นี้ต้องบันทึกบัญชีด้านผู้รับฝากขายก่อนเสมอ

ตัวอย่างที่1  วันที่1 มีนาคม 2556 ร้านเพชรการค้า ส่งสินค้าไปฝากร้านพลพานิชที่                                                                                                                                                                     จังหวัดเพชรบุรีขายจำนวน 20 ชิ้น ราคาทุนชิ้นละ 1,000 บาท กำหนดให้ขายราคาชิ้นละ                          1,400 บาท และให้ค่านายหน้า 10% ของยอดขาย และจ่ายค่าระวางเรือในการขนส่งสินค้าไป    200 บาท วันที่ 31 มีนาคม ร้านเพชรการค้า ได้ส่งรายงานการขายพร้อมเงินที่เหลือ  ดังนี้

มี.ค.    2  จ่ายค่าขนส่งสินค้าเข้าร้าน                                             100   บาท
           5  จ่ายค่าโฆษณา                                                                200   บาท
           11  ขายสินค้า  10 ชิ้น                                                    14,000   บาท
           12  จ่ายค่าบรรจุหีบห่อ                                                       150   บาท
          15  จ่ายค่าขนส่งให้ลูกค้า                                                    300   บาท
          20  ขายสินค้า  10 ชิ้น                                                  14,000   บาท
          การบันทึกบัญชีด้านผู้รับฝากขาย  เป็นดังนี้














ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 5 การฝากขายสินค้า